Anode เป็นขาที่เชื่อมต่อกับไฟบวก และขา Cathode หรือขา K เป็นขาที่เชื่อมต่อกับไฟลบ
ภาพแสดงขา LED จะสังเกตเห็นว่าขายาว่จะรับไฟ + ขาสั้น จะรับไฟ - |
ถ้าซื้อ LED มาใหม่ๆ ยังไม่ได้ตัดขาแล้วให้สังเกตว่าขายาวกว่าอีกขาหนึ่ง คือ ขา Anode รับไฟบวก และขาที่สั้นกว่านั้นเป็น Cathode หรือ K รับไฟลบ
แต่ถ้าตัดขาแล้วจะสังเกตอีกแบบหนึ่ง คือ ในตัว LED จะเห็นขาสองขาเช่นกัน โดยอีกขาหนึ่งจะแบนๆ ใหญ่ๆ กว่าอีกขาหนึ่ง
ขาที่เล็กกว่าเป็น Anode รับไฟบวก ขาภายในที่ใหญ่กว่านั้นเป็นขา Cathode รับไฟลบ (จะใช้ได้กับ LED มาตรฐาน ทั้งขนาด 3mm และ 5mm)
ถ้านอกเหนือจากนี้หรือจะให้ถูกต้องแล้วต้องใช้มัลติมิเตอร์วัดให้รู้แน่ชัด
แต่ช้าก่อน... ปัญหามีอยู่เหมือนกันว่าขาไหนเป็น A หรือ K ดูอย่างไร หากดูจากอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือทั่วไปมักบอกว่า เข็มมิเตอร์สีดำจะเป็นขา A เข็มมิเตอร์สีแดงเป็นขา K
ถูกต้องแต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะมิเตอร์ในโลกนี้มี 2 แบบ เมื่อใช้วัด C หรือ Diode มิเตอร์จะจ่ายไฟ DC ออกมาผ่านเข็มมิเตอร์ ซึ่งไฟนั้นมิเตอร์บางยี่ห้อจะจ่ายไฟลบมาที่เข็มสีแดง จ่ายไฟบวกมาที่เข็มสีดำ โดยเฉพาะยี่ห้อ SANWA แบบเข็ม
มิเตอร์ยี่ห้อ SANWA จะจ่ายไฟบวกออกทางสายวัดสีดำ |
ส่วนมิเตอร์แบบดิจิตอลจะมีตัวเลือกสำหรับวัดไดโอดโดยตรง ซึ่งจะจ่ายไฟบวกออกทางเข็มสีแดง และจ่ายไฟลบออกทางเข็มสีดำ ซึ่งสลับกับมิเตอร์แบบเข็มหรืออะนาล็อก
สรุปง่ายๆ
- มิเตอร์แบบเข็มใช้สายวัดสีดำจับขา A แล้วสายวัดสีแดงจับขา K ไฟ LED จะติดสว่างขึ้น
- มิเตอร์แบบดิจิตอลใช้สายวัดสีแดงจับขา A แล้วสายวัดสีดำจับขา K ไฟ LED จะติดสว่างขึ้น พร้อมกับแสดงค่าไฟตกคร่อม LED มีหน่วยเป็น Volt ออกมาด้วย
มิเตอร์ดิจิตอลจ่ายไฟบวกออกทางสายวัดสีแดง |
มิเตอร์ดิจิตอลจะมีย่านวัดไดโอดสามารถนำมาวัด LED ได้ |
ข้อสังเกต: ขายาวกว่าเป็น A หรือภายใน LED ชิ้นส่วนโลหะจะเล็กกว่า K |
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการที่จะหาขา LED ซึ่งไม่ต้องลองผิดลองถูกต่อเข้ากับวงจร อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ถ้าต่อกลับขั้ว และเป็นการเสริมสร้างนิสัยรอบคอบ เพราะงานอิเลคโทรนิกส์หาผิดพลาดแล้วอาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์และผู้ทำงานได้...
ชอบคุณสำหรับบทความ แล้วก็ความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ ขา led มีบทความเกี่ยวกับการต่อ หลอดไฟ led หรือบทความที่เกี่ยวข้องไหมครับ
ตอบลบขอบคุณครับ บทความอื่นยังไม่มีครับ สงสัยหรืออยากได้บทความประมาณไหนครับ
ลบOK ครับ
ตอบลบ