วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Nanopi M1

ช่วงนี้แนวคิดยังคนวนเวียนซ้ำๆ เรื่องเดิมที่ยังไม่สำเร็จเสียที ก็วนกลับมาเรื่อง Asterisk Monitor เพื่อใช้ในการแสดงผลของระบบโทรศัพท์เพื่อให้คนดูแลได้ทราบรายละเอียดการดำเนินงานต่างๆ แต่เดิมก็ดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ทมาใช้พอนานเข้าไม่อัพเดท และหนักสุดหายไปดื้อๆ เลย หาดาวน์โหลดไม่ได้

ก็ไม่ว่ากัน สิ่งต่างๆ บน Opensource ก็เป็นแบบนี้แหละ เกิดขึ้นตั้งอยู่และเสื่อมสลาย เพราะทุกสิ่งอย่างเป็นค่าใช้จ่าย คนที่ใช้บางคนก็รอแต่ของฟรี แต่ไม่ช่วยพัฒนา ไม่ช่วยบริจาค ไม่สนับสนุน สุดท้ายก็อยู่ไม่ได้ จึงถึงคราวที่ต้องพัฒนากันเอง (นี่ไม่นับรวมค่าย Elastix ไปใช้แกนกลางในการพัฒนาเป็นระบบ 3cx ซึ่งเป็นระบบ VoIP เชิงพาณิชย์ งานนี้คงเป็นที่หนักอกหนักใจของแอดมินอีกหลายคนแน่ๆ)


การแสดงผลเดิมทีใช้โปรแกรมที่รันผ่านเว็บเพจ โดยใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องรันทิ้งไว้ ก็พลอยเสียดายเครื่องตั้งแพง มาใช้งานเล็กๆ แต่ก็พยายามหาเครื่องที่สามารถรันเว็บเบราเซอร์ได้ดีๆ ยากพอสมควร แต่ละชนิดก็เจอปัญหาต่างกันไป

ใช้ Android TV Box ก็สามารถใช้งานได้ดี แต่ปัญหาเสียง่ายไปหน่อย ราคาก็แพงไม่เบาพันกว่าๆ ถึงปลายๆ

ใช้ Raspberry Pi ก็ถือว่าดีสะดวก และประสิทธิภาพสูงพอควร แต่ครั้นมาเห็น Nanopi M1 แล้วรู้สึกมีความหวังสำหรับเครื่องไคลเอนท์ราคาถูก ในการแสดงผลแล้ว

NanoPi M1 นี้เป็นเครื่องขนาดเล็กแต่อุปกรณ์ภายในไม่เล็กจิ๋ว ไม่รอช้าตัดสินใจซื้อโดยไม่ขออนุญาตเจ้าของเงินที่บ้าน :-)

โดยหลักการแล้ว NanoPi M1 ก็ไม่ได้ต่างอะไรจาก Raspberry Pi สักเท่าใด นอกจากรูปร่างและลูกเล่นที่เล็กกว่า และมี IR Reciever มาให้พร้อมเสร็จสรรพ

แต่อย่างไรก็ตามชักไม่แน่ใจว่าจะเร็วจริงตามราคาคุยหรือไม่ เพราะลำพังแค่ apt-get upgrade ก็ยังนานจนต้องมานั่งเขียนบล็อกรอ และอีกอย่างหนึ่งไม่ค่อยประทับใจ icewheal สักเท่าใด เพราะเคยใช้แล้วมันแสนจะอืดอาดเสียเหลือเกิน

แต่ช่างเหอะ เพราะสุดท้ายก็จะเขียนโปรแกรมแสดงผลเองอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใช้เว็บเบราเซอร์ แต่ปัญหาก็อยู่ที่ NanoPi จะใช้ Qt ได้ดีแค่ไหน จะแสดงผลทาง Graphic ดีไหมก็ค่อยว่ากันอีกที


เปรียบเทียบขนาด NanoPi Neo ถือว่าเป็น Pi ที่เล็กที่สุดในตอนนี้

เริ่มต้นกับ NanoPi

ขั้นแรกก็เข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ ubuntu สำหรับ NanoPi เสียก่อนที่ https://www.mediafire.com/folder/3q2911p1qp33p/NanoPi-M1Board#dc73df73c6dk6

และเขียนลง SD Card โดยใช้ Win32DiskImage แล้วก็ใส่ไปใน NanoPi M1 จากนั้นต่อสาย HDMI, แหล่งจ่ายไฟ เมาส์และคีย์บอร์ด แค่นี้ก็เปิดเครื่องเข้าหน้าจอ Ubuntu Desktop บน M1 ได้แล้ว

เชื่อมต่อผ่าน TightVNC 

ไฟล์อิมเมจที่ทำไว้ในลิงค์ดาวน์โหลดนั้นจะลง TightVNC Server มาให้เรียบร้อยแล้ว หากต้องการใช้งานเพียงแค่เข้าไปดาวน์โหลด TightVNC Viewer เพื่อเชื่อมต่อก็สามารถเข้าไปใช้งาน M1 โดยไม่ต้องต่อจอได้เแล้ว

หน้าจอ NanoPi Desktop ดูผ่าน TightVNC Viewer

การเชื่อมต่อเพียงระบุ IP แล้วตามด้วย :5901 ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานของ TightVNC และในรหัสผ่านเป็น fa123456 แค่นี้ก็เรียบร้อยโรงเรียน NanoPi

อื่นๆ เดี๋ยวจะมาอัพเดทกันอีกที โดยเฉพาะเรื่อง Asterisk Monitor สำหรับดูความเคลื่อนไหวของ Agent ในระบบงานคอลเซ็นเตอร์...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Gtk4 ตอนที่ 6 Defining a Child object

Defining a Child object A Very Simple Editor ในบทความที่ผ่านมาเราสร้างโปรแกรมอ่านไฟล์ชนิดข้อความ และในบทความนี้ก็จะมาปรับแต่งโปรแกรมกันสักหน...